เลขที่สัญญา 10/2566 Other Title: การพัฒนาสื่อสร้างสารภาษาไทยเพื่อการบริการสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน Author: นพมาศ ปลัดกอง ศศิวิมล คงสุวรรณ ศรายุทธ ปลัดกอง พรเพ็ญ เหล็กดีเศษ Date: 2023 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) ใช้แผนการศึกษากลุ่มเดียว โดยทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม (One Group Pretest Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจัดทาข้อมูลสื่อทางภาษาไทยในงานบริการในร้านค้าสะดวกซื้อ ประกอบด้วยข้อมูลในระดับคาและประโยคการสนทนาที่จาเป็นพื้นฐานทางการรับและให้บริการในร้านสะดวกซื้อ 2) สร้างและพัฒนาเครื่องมือการสื่อสารในรูปแบบแอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อโดยมีภาษามือไทยกากับ 3) ฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อแก่ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และกลุ่มพนักงานทางด้านการให้บริการในร้านสะดวกซื้อ ประชากร ได้แก่ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และ พนักงานให้บริการในร้านสะดวกซื้อ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มผู้บกพร่องทางการได้ยิน จานวน 50 คน เป็นนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และพนักงานให้บริการในร้านสะดวกซื้อ จานวน 50 คน รวม 100 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทาข้อมูลสื่อภาษาไทยในงานบริการในร้านสะดวกซื้อ ทั้งสิ้น 103 ชุดข้อมูล ประกอบด้วย คำศัพท์ จำนวน 57 ชุดข้อมูล และ ประโยค จำนวน 46 ชุดข้อมูล 2) แอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อ โครงสร้างของคำศัพท์ 4 กลุ่ม คือ เครื่องดื่ม สินค้าบริโภค สินค้าอุปโภค และหมวดบริการ ประโยค 6 ลักษณะ คือ บอกเล่า คำถาม ขอร้อง ปฏิเสธ คำสั่ง และห้ามคุณภาพของแอปพลิเคชันประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.80 3) หลักสูตรฝึกอบรม “ภาษามือเพื่องานบริการ และการใช้งานแอปพลิเคชัน” คะแนนทดสอบความรู้ก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย 11.33 และหลังเรียนค่าเฉลี่ย 18.32 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนโดยใช้สถิติ T-test พบว่า คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.81 และความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรมภาพรวมอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน คำสำคัญ: ภาษามือเพื่องานบริการ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน แอปพลิเคชัน This study employs a quasi-experimental research design utilizing a one-group pretest-posttest framework. The objectives are as follows: 1) To examine and compile data on Thai language communication in service activities within convenience stores, encompassing fundamental conversational data essential for both receiving and providing services in such environments. 2) To develop and design communication tools in the form of an application for service activities within convenience stores, supplemented with guidance in Thai sign language. 3) To provide training for hearing-impaired individuals and service personnel within convenience stores on the usage of the communication application during service...
เลขที่สัญญา 8/2566 Other Title: การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียน การสอนฟิสิกส์ในชั้นเรียนและในห้องปฏิบัติการด้วยการใช้เซนเซอร์แบบไร้สายและสมาร์ตโฟน Author: โชคชัย พุทธรักษา ปัทมาศ บิณฑจิตต์ พลวัฒน์ ดำรงกิจภากร Date: 2023 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: โครงการวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาชุดเซนเซอร์อาร์ดุยโน่แบบไร้สายที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ตโฟนบนแอปพลิเคชัน phyphox โดยใช้บอร์ด Arduino Nano 33 BLE sense เนื่องจากมีเซนเซอร์ที่ฝังอยู่ภายในบอร์ดที่มีสามารถวัดค่าความเร่ง อัตราเร็วเชิงมุม และสนามแม่เหล็ก ผลการพัฒนาชุดเซนเซอร์ฯ สามารถวัดปริมาณต่างๆ ในการทดลองฟิสิกส์ได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง นอกจากนี้ได้ทำการออกแบบการทดลอง/การสาธิตเพื่อสร้างเป็นสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกลศาสตร์ (เช่น การเคลื่อนที่แนวเส้นตรงกฎของนิวตัน แรงเสียดทาน การเคลื่อนที่แบบสั่น การเคลื่อนที่แบบวงกลม การกลิ้ง โมเมนตัมและการดล)จำนวน 10 เรื่อง และนำไปทดลองสอนกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษาตอนปลาย) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 29.12) และผลการประเมินเจตคติทางฟิสิกส์โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ “ดี” คำสำคัญ เซนเซอร์ สมาร์ตโฟน ฟิสิกส์ กลศาสตร์ อาร์ดุยโน่ This research project has developed a wireless Aruduino sensor that can be used with smartphones and the phyphox application. The Aruduino Nano 33 BLE sense board was selected to use in this project because of its embedded sensors on board for measuring values of acceleration, angular speed, and magnetic field. The developed Arduino sensor kit can measure and various quantities in physics experiments with precision and accuracy. In addition, physics experiments/demonstrations were designed for creating innovative media for learning and teaching physics related to mechanics (such as linear motion, Newton’s law, friction, oscillation motion, circular motion, rolling motion, momentum, and impulse) for 10subjects. These experiments/demonstrations were used to teach to the students (Grade 1) from the Demonstration School of Silpakorn University (Secondary). It was found that the academic achievement was significantly higher than that before studying at the .05 level (t = 29.12) and the average physics attitude assessment was at...
เลขที่สัญญา 7/2566 Other Title: การพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ Author: ธัญณิชา ทองอยู่ Date: 2023 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: การฝึกทักษะเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ปัจจุบันระบบการศึกษาไทยยังมีข้อจากัดของแบบฝึกทักษะอยู่มาก ขาดแหล่งฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ ทีมผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้าน NLP ร่วมกับ Deep Learning มาพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ ในลักษณะ one stop service โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ 2) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ในลักษณะออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่นาแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ไปทดลองใช้ การดาเนินการวิจัยเป็นการการบูรณาการระหว่างศาสตร์ ได้แก่ ศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์กับการศึกษา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ข้อมูล การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ร่วมกับ Multilingual Universal-Sentence Encoder ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ ผลการวิจัยได้พบว่าประสิทธิภาพของโมเดล Universal Sentence Encoder Multilingual QA 3 (USE) มีประสิทธิภาพสูงสุดสาหรับการตรวจคำตอบอัตนัยภาษาไทย ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้รับการฝึกอบรมการใช้แพลตฟอร์มฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนของผู้ที่ใช้แพลตฟอร์มฝึกทักษอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 โครงการวิจัยนี้เกิดผลผลิตที่เป็นองค์ความรู้ คือ 1) องค์ความรู้จากการออกแบบแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ 2) นวัตกรรมแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ นอกจากนั้นในเชิงนโยบาย ข้อมูล แนวทาง และแพลตฟอร์มที่ได้จากโครงการวิจัยนี้สถาบันการศึกษาทุกระดับสามารถนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่ ไปใช้ในการเสริมระบบนิเวศการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับที่เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเป็นแพลตฟอร์มที่รองรับความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและช่วยลดการนาเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ คำหลัก : แพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะ แบบฝึกทักษะ แบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบฝึกทักษะอัจฉริยะ การเรียนรู้ในยุคความปกติใหม่ Skill training is crucial for developing learners’ learning potential. Currently, the Thai education system still has significant limitations in skill training, lacking effective skill training sources. Therefore, the research team proposes to leverage AI NLP technology combined with Deep Learning to develop an intelligentskill training platform to promote learning in the new normal era, serving as a one-stopservice. The objectives are: 1) to analyze and design an intelligent skill training platform to promote learning in the new normal era; 2) to develop an intelligent skill training platform to promote learning in the new normal era in an online format using AI technology; and 3) to evaluate the satisfaction and learning outcomes of learners who use the intelligent skill training platform to promote learning in the new normal era in experimental usage. ...
เลขที่สัญญา 3/2566 Other Title: แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ Author: เขมิสรา กุลมาตย์ Date: 2023 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้ E-learning ชื่อ P’TAM นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ 3) เผยแพร่ ถ่ายทอดและนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดนราธิวาสจำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้ E-Learning ชื่อP’TAM แบบประเมินวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ดิจิทัล และแบบสอบถามการยอมรับและความเชื่อมั่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 20 KR −ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูคณิตศาสตร์มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ผลลัพธ์การเรียนรู้ออนไลน์แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต (ฟังก์ชัน E-learning ชื่อP’TAM) ผ่านเกณฑ์ 70 % คิดเป็นร้อยละ 91.01 2) ผลการศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยเท่ากับ 𝑥̅ = 4.30, S.D.= 0.7 อยู่ในระดับดี คำสำคัญ: การเรียนออนไลน์, แพลตฟอร์มดิจิทัล,ระบบนิเวศการเรียนรู้,กลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ The digital learning platform named P’TAM, aims to 1) create and develop a digital platform to build a digital and future-ready educational environment for mathematics teachers 2) study the acceptance and confidence in the digital platform for developing digital and future-ready skills among mathematics teachers and 3) disseminate, transfer, and apply technology to create opportunities, equality, and educational coverage across all areas. The target group consists of mathematics teachers in the educational innovation zone of Narathiwat Province, totaling 89 people. The research tools used include the digital environmental education platform, named P’TAM, a digital learning outcome assessment, and acceptance and confidence surveys. Data analysis was conducted using basic statistics, including percentages, average numerical values, and standard deviations. The research results found that: mathematics teachers demonstrated the requisite knowledge, skills, and learning outcomes on the digital platform for...
เลขที่สัญญา 11/2565 Other Title: การพัฒนาระบบการทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Author: อัศนีย์ ทองศิลป์ Date: 2022 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และ (2)พัฒนาระบบการทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นประจำปีการศึกษา 2565 มีวิธีดำเนินการวิจัย2 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของความฉลาดทางดิจิทัลและพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลตัวอย่างวิจัยจำนวน 945 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนระยะที่ 2 พัฒนาระบบและประเมินคุณภาพระบบทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติตัวอย่างวิจัย จำนวน 30 คนใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัล และแบบประเมินประสิทธิภาพระบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับเมทริกซ์คิวด้วยดัชนี IOC การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ การตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบด้วยวิธีKR-20 การตรวจสอบคุณภาพเมทริกซ์คิวด้วยวิธีการใช้ดัชนี PVAF,EPS และการทดสอบความน่าจะเป็นในการรอบรู้ทักษะด้วยโมเดล G-DINA ผลการวิจัยพบว่าผลการพัฒนาแบบสอบจากมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล พบว่าส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องด้านการจัดการร่องรอยทางดิจิทัล การจัดการเวลาในการควบคุมตนเองในการใช้งานหน้าจอ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ แบบสอบประกอบด้วยเนื้อหา45 ประเด็นมีตัวชี้วัด 61 ตัว ครอบคลุมทักษะที่มุ่งวัด8 ด้าน เป็นแบบสอบชนิดเลือกตอบ มีรูปแบบการให้คะแนนแบบ2 ค่า คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน และตอบผิด ได้ 0 คะแนน คุณภาพของแบบสอบด้วยโมเดลการตอบสนองข้อสอบร่วมกับดัชนี PVAF พบว่า มีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์94 ข้อ สำหรับผลการทดลองใช้แบบสอบพบว่า 1) นักเรียนที่มี เพศ อายุ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ยสะสมที่แตกต่างกันมีคะแนนความฉลาดทางดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ผู้สอบส่วนใหญ่สอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำข้อสอบที่มีโอกาสเดาได้มากที่สุด คือข้อที่ 2 (ร้อยละ 62)และข้อสอบที่มีความสะเพร่ามากที่สุดคือข้อที่ 32 (ร้อยละ 60) 3) ข้อสอบทุกข้อมีความน่าจะเป็นที่ผู้สอบมีจุดแข็งในการตอบข้อสอบได้อย่างถูกต้องมากกว่า .50 ขึ้นไปยกเว้นข้อ 31 และ 4) ผู้สอบมีจุดแข็งมากที่สุด คือ ด้านเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล ผลการพัฒนาระบบทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัล โดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์เขียนด้วยภาษาPHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL เข้าถึงได้จาก https://www.oneinthai.com/dq ระบบทดสอบแบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่ (1) การลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ (2) การสร้างชุดข้อสอบ(3)การทดสอบ (4) การให้คะแนนการประมาณค่าความน่าจะเป็นในการรอบรู้ทักษะและระดับความฉลาดทางดิจิทัล (5) การวินิจฉัยข้อบกพร่องและ (6) การออกแบบฐานข้อมูล ผลประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมในการออกแบบและการทำงานของระบบพบว่าระบบมีประสิทธิภาพดีมากผลประเมินประสบการณ์ผู้ใช้และความพึงพอใจส่วนเชื่อมต่อของระบบกับผู้ใช้พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาความฉลาดทางดิจิทัลระบบการทดสอบวินิจฉัย The research and development’s purpose were : (1) to develop the digital intelligence diagnostic test by the cognitive diagnostic model to feedback and (2) to develop the digital intelligence diagnostic test system with automated feedback for students in junior high school level. The research sample were lower secondary students in the 2022 academic year. This research consist of 2 phases: (1) to study the components of digital intelligence and to develop digital intelligence diagnostic test, the sample were 945 students with multistage sampling and (2) to develop and evaluate the digital intelligence diagnostic...
เลขที่สัญญา 8/2565 Other Title: โครงการห้องปฏิบัติการเสมือนจริงโรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล Author: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล Date: 2022 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: การศึกษาไทยในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญและมีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเรียนรู้ไม่อยู่แต่เพียงในตำรา และห้องเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการเรียนรู้ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ เกม และแอปพลิเคชันการศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนุก เรียนได้ทุกที่ และมีความเปิดกว้างเนื่องจากให้บุคคลในกลุ่มต่าง ๆ เข้าถึงได้ง่าย ไม่จำกัดวงอยู่แต่ภายในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยในฐานะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเขตร้อน เล็งเห็นความสำคัญของการที่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สมควรมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในเรื่องของโรคที่พบมากในเขตร้อน เพื่อให้สามารถป้องกันตนเอง ดูแลตนเองเบื้องต้นได้ รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ จึงได้สร้างบทเรียนดิจิตัลที่เป็นเกม ในการสอนเนื้อหาโรคเขตร้อนที่สำคัญ 3 โรค คือ ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออกเด็งกี่ และไข้ฉี่หนู โดยจัดทำบทเรียนใส่เนื้อหาเข้าไปในเกม และสอดแทรกการเรียนรู้ทางห้องปฏิบัติการ ในรูปแบบเกมและการทำ Virtual Reality Video เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น และท้าทาย ในการเรียนรู้ ส่งผลให้การเรียนรู้นั้น ไม่น่าเบื่อจากการนำไปใช้ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา จำนวนกว่า 300 ครั้ง และกลุ่มประชาชนทั่วไป กว่า 170 ครั้ง พบว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในโรคทั้ง 3 โรคเพิ่มขึ้น และสามารถทำแบบทดสอบความรู้ท้ายบทเรียนได้คะแนนเกินร้อยละ 80 และได้รับประกาศนียบัตรออนไลน์จากระบบ เกินกว่าร้อยละ 90 ในทั้ง 3 โรค และผู้เข้าเรียนได้ร่วมประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียน ในแง่การนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ความน่าสนใจของบทเรียน ความง่ายต่อการใช้งาน ในระดับคะแนนเกิน 4.70 (จากคะแนนเต็ม 5) ทั้งนี้บทเรียนที่ได้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเทคนิคด้านเกม ซึ่งยังคงเป็นรูปแบบเกมที่ง่ายและเป็นพื้นฐาน ซึ่งอาจจะเหมาะกับเด็กและผู้สูงวัย หรือผู้ที่ไม่ถนัดกับการเล่นเกม แต่อาจจะน่าเบื่อสำหรับกลุ่มวัยรุ่นหรือนักเล่นเกมทั้งหลาย ที่จะชินกับการเล่นเกมที่มีเทคโนโลยีที่มีความล้ำสมัยมากขึ้น และมีระดับความยาก มีเทคนิคของเกมในการจูงใจ เป็นต้น ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยควรทำการพัฒนาต่อยอด รวมถึงการเพิ่มเนื้อหาบทเรียน ไปสู่โรคอื่น ๆ ให้ครอบคลุมมากขึ้น คำหลัก : ห้องปฏิบัติการเสมือนจริง, โรคเขตร้อน, ไข้เลือดออกเด็งกี่, ไข้มาลาเรีย, ไข้ฉี่หนู Current education in Thailand is significantly influenced and advanced by technology and innovation, as well as changing lifestyles and learning behaviors. This evolution has made learning extend beyond textbooks and classrooms. To align with 21st century education management, the use of technology in learning, such as computers, the internet, online learning platforms, games, and educational applications, enhances a fun learning experience. It allows learning to happen anywhere and is accessible to various groups of people, not limited to schools or universities. As a researcher, lecturer, and expert in tropical diseases, we recognize the importance of providing students, both academic and general, with fundamental knowledge about common...
เลขที่สัญญา 5/2565 Other Title: โครงการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล่ามภาษามือสามมิติในสื่อบทเรียนออนไลน์ของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน Author: อภิวัฒน์ เตชะสุริยวรกุล Date: 2022 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: งานวิจัยในโครงการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล่ามภาษามือสามมิติในสื่อบทเรียนออนไลน์ของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนบทเรียนออนไลน์โดยใช้ล่ามภาษามือที่เป็นบุคคลกับล่ามภาษามือสามมิติ ที่ใช้เทคโนโลยี Inertial Sensor Modules และวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อการใช้ล่ามภาษามือสามมิติในบทเรียนออนไลน์จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มผ่านแบบทดสอบก่อนและหลังบทเรียนออนไลน์ผลคะแนนสอบจากการใช้ล่ามสามมิติ พบว่าค่าเฉลี่ย คะแนนสอบหลังเรียน มากกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน ผลคะแนนสอบจากการใช้บุคคลจริงเป็นล่าม พบว่าค่าเฉลี่ย คะแนนสอบหลังเรียน น้อยกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน 2. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการใช้ล่ามภาษามือบุคคลไม่แตกต่าง และผลการเรียนรู้ของนักเรียน จากการใช้ล่ามภาษามือสามมิติแตกต่าง โดยมีคะแนนสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่ม กลุ่ม โดยใช้สถิติ Mann-Whitney พบว่า ค่ากลางของคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ใช้ล่ามภาษามือบุคคลกับล่ามภาษามือสามมิติแตกต่างกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลที่ได้จากการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจต่อล่ามบุคคลมากกว่าล่ามที่เป็นสามมิติในทุกประเด็น ยกเว้น ประเด็นการแสดงภาษามือได้ชัดเจน เข้าใจง่าย ที่ความพึงพอใจของของล่ามสามมิติมากกว่าล่ามบุคคล คำหลัก : ล่ามภาษามือบุคคล ล่ามภาษามือสามมิติ สื่อบทเรียนออนไลน์ มนุษย์เสมือนจริง นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน The research project on the development of a three-dimensional sign language metahuman technology in online learning media for hearing-impaired students aimed to study and compare the learning outcomes of online lessons using a human sign language interpreter and a three-dimensional sign language metahuman that used Inertial Sensor Modules technology and to measure the satisfaction of hearing-impaired students towards the use of a three-dimensional sign language metahuman in online lessons. The research findings were as follows: 1. Comparing the learning outcomes of both groups of students through pre-tests and post-tests, the scores from using the three-dimensional metahuman showed that the average post-test score was higher than the pre-test score. The scores from using a real person as an interpreter showed that the average post-test score was lower than the pre-test score. 2. Comparing the...
เลขที่สัญญา 4/2565 Other Title: โครงการส่งเสริมครูผู้สอนผลิตสื่อออนไลน์คณิตศาสตร์ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางการมองเห็น Author: ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ บุญทอง บุญทวี ลือชัย ทิพรังศรี พงศ์ระพี แก้วไทรฮะ Date: 2022 Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ Abstract: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมครูผู้สอนให้สามารถผลิตสื่อออนไลน์คณิตศาสตร์ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางการมองเห็นและเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการผลิตสื่อออนไลน์คณิตศาสตร์ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้บกพร่องทางการมองเห็นในรูปแบบการเรียนออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน(MOOC)การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็น2ระยะคือระยะแรกอบรมครูโดยใช้การอบรมออนไลน์รูปแบบZoomและระยะที่2คือการเผยแพร่บทเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์มThaiMOOCกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่1ประกอบไปด้วยครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนที่มีรูปแบบการสอนแบบร่วมที่สังกัดเขตการศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศจำนวน45คนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่2คือผู้สมัครเข้าเรียนรายวิชาที่เผยแพร่บนThaiMOOCและเรียนครบตามหลักสูตรจำนวน300คนเนื้อหาสาระของหลักสูตรประกอบไปด้วยเทคนิคการผลิตสื่อออนไลน์คณิตศาสตร์ที่รองรับผู้เรียนตาบอดและมองเห็นเลือนรางโดยใช้เครื่องมือที่ครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงได้ฟรีอยู่แล้วมีการผลิตตัวอย่างสื่อต้นแบบและบทเรียนที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มมาตรฐานต้องพิจารณาข้อจำกัดและความต้องการที่สนับสนุนผู้บกพร่องทางการมองเห็นผลการดำเนินโครงการระยะที่1พบว่าครูที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ที่เพิ่มสูงกว่าก่อนเรียนและมีความพึงพอใจในการอบรมทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบของการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุดสำหรับผลการดำเนินโครงการระยะที่2พบว่าผู้เข้าเรียนมีความพึงพอใจในเนื้อหาและรูปแบบการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดนอกจากนี้ผู้เข้าเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมได้รับครบและผ่านเกณฑ์60%ในการได้รับประกาศนียบัตรมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ26.23ในรูปแบบมาตรฐานเท่ากับ8.23โดยมีคะแนนสูงสุดเท่ากับ35คะแนนและคะแนนต่ำสุดเท่ากับ20คะแนนสำหรับการดำเนินโครงการครั้งนี้ช่วยให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์และผู้สอนรายวิชาอื่นๆได้เข้าใจในผลิตสื่อการสอนและปรับปรุงสื่อการสอนที่สนับสนุนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นและผู้เรียนปกติได้รับประโยชน์จากการเรียนออนไลน์ได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ คำสำคัญ:สื่อออนไลน์คณิตศาสตร์ผู้บกพร่องทางการมองเห็นอบรมครู This project aimed to encourage teachers to produce online mathematics media that supports the learning of the visually impaired and to disseminate knowledge in producing mathematics online media that supports learning for the visually impaired in the form of a massive open online course (MOOC). The project implementation is divided into 2 phases: Phase 1 involved online teacher training via Zoom, and Phase 2 involved publishing open online lessons on the Thai MOOC platform. The sample group used in Phase 1 was 94 lower secondary mathematics teachers with inclusive education programs under secondary education districts across the country. The sample group in Phase 2 included 100 learners who registered and completed the published online lesson on Thai MOOC. The content of the course includes techniques for producing online mathematics media that supports the learning of blind and low-vision students using accessible/existing tools. This project produced prototype materials and lessons that have been verified by experts for content accuracy and learning management that support the visually impaired. The results of Phase 1 revealed that the teachers who attended the training had improved their knowledge and were satisfied with the training, both...